วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วัน / เดือน / ปี  10 มีนาคม พ.ศ 2558

ความรู้ที่ได้รับในการเรียนการสอน
                วันนี้อาจารย์ก็ได้เล่าถึงการสอบบรรจุข้าราชการครูให้นักศึกษาได้ฟังเพื่อเป็นแนวทางในการสอบในอนาคตอาจารย์ก็ได้พูดถึงว่าคำถามที่ชอบถามในการสอบสัมภาษณ์และวิชาที่ต้องเตรียมตัวในการอ่านหนังสือสอบว่ามีแนวทางเป็นอย่างไรและต้นคาบอาจารย์ก็มีเกมสนุกๆมาให้นักศึกษาได้เล่นคลายเครียดก่อนเรียนตลอดเลยซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะจะทำให้นักศึกษาไม่เครียดและสนใจในการเรียน

^^ เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ ^^
>> การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ <<

ทักษะทางภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดไหม 
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม 

การออกเสียงผิด หรือพูดไม่ชัด 
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง

การปฏิบัติของครู และผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำ หรือการพูดไม่ชัด 
- ห้ามบอกกับเด็กว่า "พูดช้าๆ", "ตามสบาย", "คิดก่อนพูด" 
- อย่าขัดจังหวะขณะที่เด็กกำลังพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่เด็กถนัด 
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น 
- เด็กที่พูดไม่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับการได้ยินด้วย

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด 

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย 
- การรับรู้ภาษา มาก่อนการแสดงออกทางภาษา (ฟังก่อนการพูด)
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูด มาก่อนภาษาพูด (สีหน้า, ท่าทาง)
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะ หากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดี และโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษจะได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่างหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น 
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก 


Post test
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษา ในห้องเรียนเรียนรวมได้อย่างไร



กิจกรรม ดนตรีบำบัด








การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
1.             เป็นแนวในการเตรียมตัวสอบบรรจุในอนาคตในการอ่านหนังสือหรือเก็บข้อมูลต่างๆในการสอบที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย
2.             .เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิเศษสามารถจัดได้เหมือนกับเด็กปกติโดยการทำกิจกรมต่างๆในห้องเรียน
3.              สามารถนำกิจกรรมดนตรีบำบัดที่หลากหลายรูปแบบมาใช้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติได้ให้เด็กเกิดประโยชน์สูงสุด

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง>>> แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง ตั้งใจเรียน
เพื่อน>>>วันนี้เป็นวันที่เรียน 2 ห้องจึงทำให้บรรยายกาศในห้องดูเสียงดังแต่เพื่อนทุกคนก็ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่กันทุกคน

อาจารย์>>>แต่งกายเรียบร้อย พูดจาสุภาพ มีการนำเอาคามรู้ต่างๆนอกเหนือจากในวิชาที่สอนมาให้นักศึกษาอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องรอบตัวที่ควรรู้และตั้งใจสอนเนื้อหาในวิชาอย่างเช้าใจอยากให้อาจารย์น่ารักแบบนี้ตลอดไปคะ




วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  3  มีนาคม  2558 ครั้งที่  9


ความรู้ที่ได้รับในการเรียนการสอน
ในการเรียนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้ลองทำดนตรีบำบัดโดยให้นักศึกษาจับคู่กันซึ่งเราจะสื่อสารอารมณ์ออกมาผ่านการลากเส้นบนกระดาษและให้อีกตนเป็นคนจุดคู่ของเราก็ได้สื่อสารออกมาผ่านภาพดังนี้….


กิจกรรมดนตรีบำบัด




การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1.ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

 กิจกรรมการเล่น
• การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
• เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
• ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
• เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
• ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
• จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
• ครูจดบันทึก
• ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
• วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
• คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
• ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน

 ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
• อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
•  ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
• ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
• เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
• ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
• ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
• ทำโดย “การพูดนำของครู”

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
• ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
• การให้โอกาสเด็ก
• เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
            จากการเรียนการทำกิจกรรมดนตรีบำบัดซึ่งจะเป็นวิธีที่ส่งพัฒนาเด็กพิเศษให้เขามีพัฒนาการที่ดีและยังสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้และการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษยังมีวิธีการต่างๆกิจกรรมการเล่นต่างๆที่นำมาส่งเสริมให้เด็กอย่างครบทุกด้านและในเรื่องของครูในการปฏิบัติกับเด็กพิเศษกับเด็กปกติทุกคนเท่าเทียมกันครูควรให้แรงเสริมกับเด็กอย่างเหมาะสม

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง>>> ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน แต่งกายเรียบร้อย
เพื่อน>>> แต่งกายเรียบร้อย สนุกสนานในการเรียน มีทั้งความสนุกและความรู้ทำให้การเรียนในวันนี้เพื่อนทุกคน Happy มากคะ

อาจารย์>>> แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ และยังมีกิจกรรมที่แปลกๆมาให้นักศึกษาได้เล่นอยู่เสมอทำให้ในการเรียนไม่เคร่งเครียดและนักศึกษาก็มีความสุขในการเรียนทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี