วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 17
                                                        

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  28  เมษายน  2558 ครั้งที่  17


ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเป็นการสอบร้องเพลงการสอบร้องเพลงครั้งนี้ตื่นเต้นมากเลยเพราะว่ากลัวร้องเพี้ยนหรือร้องไม่ถูกกดดันมากเลยพอถึงตัวเองไปร้องก็จับได้เพลงเพลงฝึกกายบริหารก็สามารถร้องเพลงผ่านไปด้วยดี

ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
                                                     รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
                                                    รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

การนำความรู้ไปใช้
การนำไปเป็นหลักในการร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยทำให้ได้เรียนรู้เพลงมากยิ่งขึ้นในการร้องเพลงสำหรับเด็กเพลงที่อาจารย์มอมให้มีแต่เพลงที่มีความหมายและเพราะมากร้องง่ายและสนุกทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง>> ร้องเพลงเพราะ แต่งกายถูกระเบียบ
ประเมินเพื่อน >> เพื่อนทุกคนตั้งใจร้องเพลงอย่างเต็มที่ ไม่พูดคุยกันเสียงดังขณะที่เพื่อนคนอื่นออกไปร้องเพลง และคอยให้กำลังใจเพื่อนทุกคน
ประเมินอาจารย์ >> อาจารย์มีเทคนิคการร้องเพลงที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้นักศึกษาและคอยช่วยให้นักศึกษาร้องเพลงได้ผ่านไปด้วยดีวันนี้คงเป็นการเรียนครั้งสุดท้ายหนูก็ขอให้อาจารย์เป็นที่รักของนักศึกษาทุกคนแบบนี้ตลอดไปนะคะ^^









วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 16


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  21 เมษายน  2558 ครั้งที่  16

ความรู้ที่ได้รับ
            วันนี้เริ่มเรียนด้วยการเล่นกิจกรรมคลายเครียดก่อนเรียนโดยกิจกรรม ดิ่งพสุธาเป็นกิจกรรมที่สนุกและทำให้นักศึกษาไม่เครียดในการเรียน

>>>โปรมแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล<<<
(Individualized Education Program)
แผน IEP>> เป็นแผนการสอนที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผนเด็กIEP
-          คัดแยกเด็กพิเศษ
-          ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-          ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะได้เริ่มต้นช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ทักษะอะไรเด็กสาสารถทำอะไรได้ทำอะไรไม่ได้
-          แล้วจึงเขียน IEP
IEP ประกอบด้วย >>
-          ข้อมูลส่วนตัวเด็ก
-          ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-          การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-          เป้าหมายระยะยาวประจำปี  ระยะสัน
-          ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอนและคาดคะเนวันสิ้นสุดของแผน
-          วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
-          ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-          ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
-          ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-          ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
-          เป็นแนวทางการจัดการจัดสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-          เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
-          ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-          เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-          ตรวจสอบและประเมินผลไดเป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-        ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลเพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-         ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนเองอย่างไร
-          เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1.การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รางานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้นระยะยาว
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย     
-          ระยะยาว
-          ระยะสั้น
>>จุดมุ่งหมายระยะยาว<<
กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
-          น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-          น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-          น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
>>จุดมุ่งหมายระยะสั้น<<
-          ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก (ระยะยาว)
-          เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
1.      จะสอนใคร
2.      พฤติกรรมอะไร
3.      เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
4.      พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ใคร                        อรุณ
อะไร                      กระโดดขาเดียวได้
เมื่อไหร่                  กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน           กระโดดไดขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 นาที
3.การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน
- ต้องมีการสังเกตเก็บรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามรถ โดยคำนึงถึง
- ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
- ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
- อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
***การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน***

การนำไปใช้ในการเรียนการสอน
นำไปใช้ในการจัดทำแผนการสอนสำหรับเด็กพิเศษในอนาคตให้เหมาะสมกับความบกพร่องของเด็กแต่ละประเภทและรู้ถึงหลักการต่างๆในการเขียนแผนที่ถูกต้องสามารถนำมาประยุกต์ในการหากิจกรรมการสอนได้อีกด้วยโดยทีครูจะต้องรู้ข้อมูลของเด็กเป็นอย่างดีก่อนที่จะทำแผนIEP ได้

ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง>> ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพ เข้าในในข้อมูลที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดีมีการจดเนื้อหาเพิ่มเติมจากที่อาจารย์สอน
เพื่อน>>แต่งกายสุภาพ  ไม่คุยกันเสียงดงในขณะที่ครูสอนหรือให้ทำกิจกรรม ตั้งใจเขียนแผนกันเป็นอย่างดี
อาจารย์>> มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้นักเรียนได้เล่นอยู่ตลอดเพื่อให้เด็กไม่เครียดในการเรียนเกินไปเวลาอธิบายในเนื้อหาของการเรียนก็อธิบายได้ดีมากคะ






บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  14 เมษายน  2558 ครั้งที่  15
                                                                                            
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับวันหยุดสงกรานต์ค่ะ ^-^




วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  7 เมษายน  2558 ครั้งที่  14

>>> การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ <<<
 ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
>> เป้าหมาย <<
•          การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
•          มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
•          เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
•          พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
•          อยากสำรวจ อยากทดลอง
>> ช่วงความสนใจ <<
•          ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
•          จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
>> การเลียนแบบ <<
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
•          เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
•          เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
•          คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
 >> การรับรู้ การเคลื่อนไหว <<
•          ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
•          ตอบสนองอย่างเหมาะสม
 >> การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก <<
•          การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
•          ต่อบล็อก
•          ศิลปะ
•          มุมบ้าน
•          ช่วยเหลือตนเอง
>> ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ <<
•          ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
•          รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
>> ความจำ <<
•          จากการสนทนา
•          เมื่อเช้าหนูทานอะไร
•          แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
•          จำตัวละครในนิทาน
•          จำชื่อครู เพื่อน
•          เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
•          จัดกลุ่มเด็ก
•          เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
•          ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
•          ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
•          ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
•          ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
•          บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
•          รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
•          มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
•          เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
•          พูดในทางที่ดี
•          จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
•          ทำบทเรียนให้สนุก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-การนำไปประยุกต์ใช้ในกาจัดกิจกรรมให้กับเด็กการที่จะจัดกิจกรรมแต่ละอย่างช่วงเวลาเหมาะสมกับวัยของเด็กหรือไหมช่วงความสนใจของเด็กพิเศษ ประมาณ 2-3 นาที ครูต้องฝึกให้เด็กมีสมาธิก่อนที่จะทำกิจกรรมในแต่ละอย่างในการจัดกิจกรรมควรหากิจกรรมที่สั้นๆไว้ก่อนแล้วค่อยๆจัดกิจกรมที่มีลักษณะที่ยาวขึ้นในช่วงหลังและการที่จะให้เด็กทำกิจกรรมในแต่ละอย่างครูควรที่จะให้เด็กได้จับคู่เล่นที่เหมะสมเด็กพิเศษจับคู่กับเด็กปกติเพื่อให้เด็กพิเศษได้ทำตามเด็กพิเศษหรือการเลียนแบบนั่นเอง

การประเมิน
ตนเอง>>>เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังครูสอนเป็นอย่างดี แต่ก็มีบางครั้งที่คุยกับเพื่อนบ้างแต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอนนะคะ
เพื่อน>>>เพื่อนก็ตั้งใจเรียน ไม่คุยกันเสียงดังในขณะที่ครูกำลังสอนให้ความสนใจในการเรียนเป็นอย่างดี
อาจารย์>>>แต่งกายสุภาพ  พูดจาไพเราะน่าฟัง มีความตั้งใจในการสอนเป็นอย่างมากมีการอธิบายในเนื้อหาจนนักศึกษาเข้าใจและมีกิจกรรมที่สนุกๆมาให้นักศึกษาได้ทำอยู่บ่อยๆ