วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  10 กุมภาพันธ์  2557  ครั้งที่  6

                                                                                                           
ความรู้ที่ได้รับในการเรียนการสอน

สำหรับกิจกรรมแรกในการเรียนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้วาดภาพมือข้างที่ตนเองไม่ถนัดโดยการใส่ถุงมือไว้แล้วให้วาดภาพมือตนเองว่าเรารู้จักมือเรามากแค่ไหน หนูก็ได้วาดรูปมือออกมาดังภาพ ….



เนื้อหาที่เรียน >>การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ  >> พยายามมองเด็กเด็กพิเศษเป็นเด็กที่เท่าเทียมกับเด็กปกติมองให้เป็นภาพรวม
การฝึกเพิ่มเติม                             
-อบรมระยะสั้น , สัมมนา                                                                                        
-สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
-เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
-ครูต้องเรียนรู้ มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
-รู้จักเด็กแต่ละคน
- มองเด็กให้เป็น “เด็ก”   ถึงเด็กคนนั้นจะเป็นเด็กพิเศษก็ตามคนเป็นครูก็ต้องมองเด็กคนนั้นเป็นเด็กปกติทั่วไปเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
- การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
-วุฒิภาวะ
-แรงจูงใจ
-โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
-ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
-ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
-ครูต้องมีความสนใจเด็ก
-ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
-ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
- ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
-ครูต้องทำเป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
-มีลักษณะง่ายๆ
-ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
-เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
-เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
-กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
- คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู                                                                                                                       
ความยืดหยุ่น>>> การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
                             ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
                             ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
 >> รับฟังข้อมูล หรือคำแนะนำจากบุคคลในอาชีพอื่นๆ
 >> ความสำพันธ์ระหว่างการบำบัด กับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้
- เด็กทุกคนสอนได้ >>>เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
-ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
-มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
-หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
-ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
-ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
-ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
ขั้นตอนการให้แรงเสริม                                                                                                                   
- สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
-สอนจากง่ายไปยาก                                                                                                   
-ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
-ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
-ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
-ทีละขั้น ไม่เร่งรัด “ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น”
-ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา>>>จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
- พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
-เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
-สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
การลดหรือหยุดแรงเสริม
-ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
-เอาเด็กออกจากการเล่น

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

เพลง  ฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
     ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง     
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

เพลง  ผลไม้
ส้มโอ  แตงโม   แตงไทย
ลิ้นจี่     ลำไย  องุ่น    พุทรา
เงาะ  ฟรั่ง    มังคุด
กล้วย    ละมุด   หน่อยหน่า
ขนุน   มะม่วง   นานาพันธุ์

เพลง กินผักกัน
กินผักกันเถอะเรา
บวบ    ถั่วฝักยาว  ผักกาดขาว   แตงกวา
คะน้า   กวางตุ้ง    ผักบุ้ง   โหระพา
มะเขือเทศสีดา  ฟักทอง  กะหล่ำปลี

เพลง  ดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์     สวยงามสดใส
เหลือง  แดง   ม่วงมี   แสด   ขาว   ชมพู

เพลง จ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้  ดาวเรือง  หงอนไก่
จำปี  จำปา  มะลิ  พิกุล
กุหลาบ  ชบา  บานชื่น  กระดังงา
เข็ม  แก้ว  ลัดดา   เฟื่องฟ้า  ราตรี

ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล    รัตนสุวรร
เรียบเรียง  อ.ตฤณ     แจ่มถิน


การนำไปประยุกต์ใช้
การนำการมองเด็กหรือทัศนคติที่เรามองเด็กพิเศษให้มองเป็นภาพรวมเหมือนกับเด็กปกติและต้องคำนึงถึงพัฒนาการวุฒิภาวะความพร้อมของเด็กด้วยเพื่อจะนำมาเป็นแนวทางในการสอนเด็กให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและสามารถรู้ถึงการจัดตารางในการเรียนของเด็กรวมถึงการใช้แรงเสริมเข้ามาในการเรียนของเด็กให้เกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด

การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง >>>เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจทำกิจกกรมอย่างเต็มที่ มีส่วนร่วมในการเรียน
ประเมินเพื่อน>>>ตั้งใจเรียน  ไม่คุยกันเสียงดัง ทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน                         
ประเมินอาจารย์>>>เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพมีการสอนเนื้อหาและอธิบายให้เด็กเข้าใจเป็นส่วนๆอย่างดี  สอนสนุกทำให้เด็กมีความสุขในการเรียนและรับข้อมูลอย่างเต็มที่